วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


"EMS และ SRRT" ภูมิคุ้มภัยของชุมชนคนกมลาไสย

สุพัฒน์ ธาตุเพชร, ยุพาพิณ นาชัยเลิศ, พรพัฒน์ ภูนากลม และคณะ
โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
              
บริบทของพื้นที่
กมลาไสยเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15–17 ในยุคทวารวดี ชาวกมลาไสยได้พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องกระทั่งแยกตัวเป็นอิสระจากเมืองกาฬสินธุ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2460  อำเภอกมลาไสยอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากตัวจังหวัด 13 กิโลเมตร มีประชากรประมาณเจ็ดหมื่นคน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำปาวและแม่น้ำชีมาบรรจบหล่อเลี้ยง ระบบชลประทานครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 70 ผืนดินที่นี่มีความอุดมสมบรูณ์จนขึ้นชื่อเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่จึงเป็นกระดูกสันหลังของชาติทำนากันถึงปีละ 2-3 ครั้ง
โรงพยาบาลกมลาไสยก่อตั้งเพื่อบริการประชาชนในอำเภอกมลาไสยและพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ในระยะแรกปัญหาสุขภาพของพื้นที่ คือ โรคติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับอาชีพทำนา ได้แก่ โรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) หรือ โรคฉี่หนู ซึ่งชาวบ้านที่กมลาไสยจะเรียกโรคนี้อย่างคุ้นเคยว่า ไข้สารหนู นอกจากนั้นยังมีโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้แก่พี่น้องมาก คือ เยื้อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ (Eosinophilic meningitis) ซึ่งเรียกกันติดปากว่า โรคปวดหัวสารหอย และยังมีโรคติดเชื้ออื่น ๆ เช่น ไข้เลือดออก โรคเรื้อน โรคอุจาระร่วง ซึ่งสร้างความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สินให้แก่ชาวกมลาไสยมาอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลกมลาไสยได้พัฒนาและแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาสุขภาพเหล่านี้โดยการวิจัยและพัฒนา สร้างการเรียนรู้จนมีกระบวนการรักษาพยาบาลโรคติดเชื้อเหล่านี้อย่างมีคุณภาพ เป็นที่เลื่องลือว่าโรงพยาบาลกมลาไสยเป็น ศูนย์สารหนูและสารหอย ทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงหลั่งไหลมารับบริการมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการคมนาคมอย่างรวดเร็ว โรงพยาบาลกมลาไสยจึงได้พัฒนาเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ในปี พ.ศ. 2539 และขยายต่อเป็น 90 เตียงในปี พ.ศ. 2553 แม้ทีมงานสาธารณสุขอำเภอกมลาไสยจะทำงานอย่างแข็งขันในนามคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ หรือ คปสอ แต่ยังพบว่าพี่น้องยังเจ็บป่วยและสูญเสียจากโรคติดเชื้อเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเห็นได้จากระหว่าง ปี พ.ศ. 2551-2553 มีผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคฉี่หนูเฉลี่ยปีละ 70 ราย นับวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยรวมกันได้เฉลี่ย 250 วันต่อปี และมีผู้ป่วยเสียชีวิตเกือบทุกปี ในขณะที่ไข้เลือดออกก็เป็นปัญหาตลอด เป็นสาเหตุให้มีผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ยปีละ 140 ราย นับวันนอนโรงพยาบาลรวมกันได้เฉลี่ย 500 วันต่อปี
ในขณะที่โรคติดเชื้อยังเป็นปัญหาที่สำคัญ ชาวกมลาไสยก็ต้องเผชิญปัญหาโรคที่มีสาเหตุจากวิถีชีวิตแบบสังคมเมือง ทั้งโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร สภาพการณ์แบบนี้นับเป็นงานหนักของทีมสาธารณสุขที่ต้องต่อสู้กับปัญหาโรคติดเชื้อและโรคเรื้อรังไปพร้อมกัน เป็นงานหนักแบบ ทวิภาระ หรือเรียกว่าโดนสองเด้ง เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนและมีปัจจัยเกี่ยวข้องมากมาย การแก้ปัญหาโดยอาศัยแรงจากภาคสาธารณสุขเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอที่จะจัดการกับปัญหาสุขภาพได้ ดังนั้นทีม คปสอ. จึงได้พัฒนาการดำเนินงานต่าง ๆ ร่วมกับ เครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 15 แห่ง ร่วมกันพัฒนา หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (Emergency Medical Service: EMS)” เพื่อให้บริการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือประสบอุบัติเหตุ จนมีความครอบคลุมพื้นที่ทุกตำบลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบเรื่องกำลังคนและงบประมาณ ส่วน คปสอ. รับผิดชอบการประสานงานและสนับสนุนวิชาการ การดำเนินงานร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในลักษณะนี้ประสบความสำเร็จ และได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดีจากพี่น้องประชาชน คปสอ. จึงมีการดำเนินงานสาธารณสุขร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วยังมีเครือข่ายนักวิชาการในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ของสำนักงานป้องคันและควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
แม้อำเภอกมลาไสยจะมี ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team: SRRT) ระดับอำเภอ ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2548 แต่ก็เป็นการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขซึ่งในระยะแรกยังไม่มีประสิทธิภาพ ขาดความครอบคลุม และความต่อเนื่อง จนปลายปี พ.ศ. 2553 มีการร่วมมือกับนักวิชาการในการวิจัยและพัฒนางาน SRRT จึงเกิดการพัฒนาและขยายไปสู่ทุกตำบล ครอบคลุมทุกชุมชน เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาแบบทวิภาระทั้ง คือ ปัญหาโรคติดต่อ และโรคเรื้อรังพร้อมกัน คปสอ.กมลาไสยจึงใช้จุดแข็งด้าน EMS และ SRRT ผสมผสานร่วมกันในการจัดการกับความท้าทายนี้ โดยขยายความร่วมมือกับส่วนราชการอื่น ภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนักวิชาการ


กระบวนการดำเนินงาน

การขับเคลื่อนการพัฒนา เริ่มจากทีม คปสอ. คิดทบทวนมองหาพันธมิตร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้นำชุมชน อสม. ครู นักการเมือง อบต. เทศบาล ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ปศุสัตว์ เกษตร สาธารณสุข และนักวิชาการ จากนั้นประธาน คปสอ. นพ.สุพัฒน์ ธาตุเพชร (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกมลาไสย) ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับทุกภาคส่วนเป็นอย่างดีจากการทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมาถึง 18 ปี ได้ปรึกษานายอำเภอกมลาไสย เพื่อเชิญเข้าร่วมการพัฒนาสู่อำเภอควบคุมโรคเข็มแข็ง โดยทำงานร่วมกันในนามคณะกรรมการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งอำเภอกมลาไสย มีการประชุมเพื่อ ระดมความคิด แลกเปลี่ยนความฝัน ร่วมกันวางบทบาท

นายอำเภอกมลาไสย (นายธนูศิลป์ ไชยศิริ) เป็นข้าราชการสายปกครองมืออาชีพที่ให้ความสำคัญกับงานด้านสุขภาพอย่างมาก ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการอำเภอควบคุมโรคเข็มแข็ง


"ผมต้องดูแลสุขภาพ หากถูกเชิญไปร่วมงานผมต้องสำรวจตัวเองก่อนทุกครั้งว่าตัวเองสุขภาพดีหรือยัง การทำงานของสาธารณสุขตอบสนองต่อความทุกข์ความสุขของพี่น้องประชาชนและเป็นบทบาทหน้าที่ของนายอำเภออยู่แล้ว"
นายธนูศิลป์ ไชยศิริ
นายอำเภอกมลาไสย
26 พฤษภาคม 2554










2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2565 เวลา 11:46

    Emperor Casino - Shootercasino
    Emperor Casino is the one and only online casino in the 메리트 카지노 고객센터 Asian Enjoy more than 600 games 제왕 카지노 from Microgaming & Slots to enjoy over 200 jackpot titles 온카지노 and over 2000

    ตอบลบ
  2. The Casino Site | LuckyClub.live
    The Casino site is a web-based site for users to discover and download various games, and also provide a selection of other gambling and games luckyclub for Jul 27, 2016 · Uploaded by Lucky Club

    ตอบลบ